เที่ยวจังหวัดตาก

ตาก
          ธรรมชาติน่ายล ภูมิพลเขื่อนใหญ่ พระเจ้าตากเกรียงไกร เมืองไม้ และป่างาม

          เมืองตาก เป็นจังหวัดที่อยู่ทางภาคเหนือตอนล่าง เดิมชื่อว่า เมืองระแหง” ในอดีตเป็นเมืองที่มีชาวมอญอาศัยอยู่มาก่อน ดังมีหลักฐานศิลปะมอญปรากฏอยู่ที่ตัวเมืองเดิมอยู่ในท้องที่อำเภอบ้านตาก เมืองนี้สร้างขึ้นก่อนสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ต่อมาเมื่อได้สถาปนากรุงสุโขทัยเป็นราชธานีแล้วเมืองตากจึงมีฐานะเป็นเมืองหน้าด่านที่สำคัเอ ฅน
สร้างภาพตากญด้านฝั่งตะวันตก และยังเป็นเมืองที่มีความเกี่ยวข้องกับพระมหาราชในอดีตถึง ๔ พระองค์ ที่เสด็จมาชุมนุมกองทัพ ณ ดินแดนเมืองตากนี้ได้แก่ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระนารายณ์มหาราช และสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายตัวเมืองตากจากฝั่งขวาของแม่น้ำปิง มาตั้งยังฝั่งซ้ายบริเวณตำบลบ้านระแหงจนกระทั่งทุกวันนี้
                จังหวัดตาก อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ ๔๒๖ กิโลเมตร มีเนื้อที่  ๑๐,๒๕๔,๑๕๖ ไร่ สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็น  ภูเขา และป่าไม้ เป็นจังหวัดที่มีอุทยานแห่งชาติ ๕ แห่ง ๑ วนอุทยาน และ ๒ เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่า ที่ยังคงความสมบูรณ์ของป่า และธรรมชาติ อาทิ อุทยานแห่งชาติตากสินมหาราช อุทยานแห่งชาติแม่เมย อุทยานแห่งชาติลานสาง อุทยานแห่งชาติพาเจริญ อุทยานแห่งชาติขุนพะวอ วนอุทยานซากคึกดำบรรพ์  เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร และเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าแม่ตื่น ตลอดจนมีน้ำตกที่นักท่องเที่ยวผู้รักการผจญภัยและนิยมการล่องแก่งต้องมาเยือนสักครั้ง คือ น้ำตกทีลอซู และน้ำตกทีลอเล  นอกจากความสวยงามตามธรรมชาติแล้วยังเป็นจังหวัดที่มีผลผลิตทางการเกษตรที่ขึ้นชื่อทั้งไม้ตัดดอก และผลไม้ โดยเฉพาะทับทิม ซึ่งเป็นพันธุ์ที่มีผลใหญ่และกำลังได้รับความนิยมมาก

ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
               ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ถนนจรดวิถีถ่อง ใกล้กับสำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ศาลนี้แต่เดิมอยู่ที่วัดดอยเขาแก้วฝั่งตรงข้ามกับตัวเมืองตาก ต่อมาในพ.. ๒๔๙๐ ชาวเมืองตากเห็นว่าศาลเดิมไม่สมพระเกียรติ จึงได้สร้างศาลขึ้นใหม่โดยให้กรมศิลปากรหล่อพระบรมรูปสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ขนาดใหญ่กว่าพระองค์จริงเล็กน้อย ในพระอิริยาบถที่กำลังประทับอยู่บนราชอาสน์ มีพระแสงดาบพาดอยู่ที่พระเพลา ที่ฐานพระบรมรูปมีคำจารึกว่า พระเจ้าตากสินกรุงธนบุรี ทรงพระราชสมภพเมื่อ พ.. ๒๒๗๗ สวรรคต พ.๒๓๒๕ รวม ๔๘ พรรษา เป็นที่เคารพสักการะของประชาชนทั่วไปและเป็นศาลที่สร้างขึ้นเป็นแห่งแรกของเมืองไทย 
ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
 เอ ฅนสร้างภาพตาก
สะพานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี
สะพานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี

วัดสีตลาราม
                  วัดสีตลาราม หรือ วัดน้ำหัก บ้านจีน ตำบลระแหง ถนนตากสิน เป็นวัดเก่าแก่ของจังหวัด เหตุที่ชาวบ้านเรียกวัดน้ำหักเพราะในสมัยก่อนด้านตะวันตกของวัดเป็นแม่น้ำปิงที่มีกระแสน้ำไหลหักวน เมื่อถึงฤดูน้ำหลาก น้ำจากลำห้วยแม่ท้อซึ่งไหลแรงมากได้ไหลตัดกระแสน้ำของแม่น้ำปิง จึงทำให้กระแสน้ำแม่ปิงหักเหเบนเข้าหาท่าน้ำหน้าวัด ต่อมามีการถมดินสองฝั่งแม่น้ำ ร่องน้ำจึงเปลี่ยนไปไม่มีคุ้งน้ำที่มีกระแสน้ำไหลวนให้เห็นอีก  ภายในวัดบรรยากาศร่มรื่นมี โบสถ์ และอาคารเรือนไม้สร้างตามศิลปะยุโรป พระอุโบสถของวัดเคยถูกไฟไหม้แต่ได้มีการสร้างขึ้นใหม่ หน้าอุโบสถมีวิหารคต สร้างด้วยไม้แกะสลักลวดลาย ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปสมัยอยุธยา


                         
                          วัดดอยข่อยเขาแก้ว หรือ วัดพระเจ้าตาก ตั้งอยู่ริมถนนเลี่ยงเมือง สาย จ. ๓ ตำบลแม่ท้อ ห่างจากลำน้ำปิงฝั่งตะวันตกประมาณ ๒๕๐ เมตร ในสมัยเมื่อครั้งสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ดำรงตำแหน่งพระยาตาก พระองค์ได้เสี่ยงทาย ณ วัดนี้ โดยกล่าวว่า “หากข้าพเจ้ามีบุญญาบารมีมากพอที่จะเป็นที่พึ่งของอาณาประชาราษฎร์ได้อย่างเที่ยงแท้ ขอให้ไม้เคาะระฆังที่ข้าพเจ้าจะขว้างไปยังถ้วยแก้วซึ่งตั้งอยู่ห่างประมาณ ๕ วา ให้ถูกจำเพาะท่อนกลางที่คอดกิ่วของถ้วยแก้วแล้วแตกหักออกไป ขออย่าให้ส่วนอื่นของถ้วยแก้วแตกเสียหาย ฯลฯ ปรากฏว่า เมื่อพระองค์ขว้างไม้เคาะระฆังออกไปตามคำอธิฐานก็เป็นอย่างที่พระองค์ได้เสี่ยงอธิษฐานไว้ เป็นที่ประจักษ์แก่สายตาของบรรดาพุทธบริษัทที่มาร่วมบำเพ็ญกุศลที่วัดดอยข่อยเขาแก้ว จนเล่าลือกันว่า “พระยาตากเป็นผู้มีบุญญาธิการและบารมีที่มหัศจรรย์ยิ่ง” ภายหลังจากการเสี่ยงทายแล้วพระองค์ได้ให้ช่างนำลูกแก้วไปติดไว้ที่ยอดเจดีย์วัดดอยข่อยเขาแก้วลูกหนึ่ง ส่วนอีกลูกหนึ่งข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน ได้ขออนุญาตนำไปติดไว้ที่ยอดเจดีย์ ณ วัดกลางสวนดอกไม้ หลายปีผ่านไปลูกแก้วที่ติดอยู่บนยอดเจดีย์ทั้งสองแห่งนั้นได้หลุดหายไปเนื่องจากยอดพระเจดีย์ได้หักพังลงมา และในพงศาวดารกล่าวว่า ต่อมาเมื่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเสด็จไปยังเมืองเชียงใหม่ ครั้งที่ ๒ ในพ.๒๓๑๗ จึงได้ไปหาสมภารวัดดอยข่อยเขาแก้ว และตรัสถามถึงเรื่องลูกแก้วที่พระองค์ทรงเสี่ยงทายเมื่อครั้งยังเป็นพระยาตากอยู่
















แสงยามเช้าอุทยานแห่งชาติแม่เมย


ดอยหลวงตาก

ดอยหลวงตาก






ม่อนทูเล อ.ท่าสองยาง







ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

นกเค้าหู (นกเค้ากู่)

มุลาอิ ขุนเขาแห่งศรัทธา

ซาลาแมนเดอร์ หรือจิ้งจกน้ำ