แล้อุปั๊ดตะก่า เข้าพรรษา ค้นหาธรรม ณ วัดแม่ซอดหน้าด่าน อ.แม่สอด จ.ตาก 28 กรกฎาคม 2561

“แล้อุปั๊ดตะก่า เข้าพรรษา” ณ วัดแม่ซอดหน้าด่าน อ.แม่สอด จ.ตาก 28 กรกฎาคม 2561 “เข้าพรรษา” แปลว่า “พักฝน” หมายถึง การที่พระภิกษุสงฆ์ต้องอยู่ประจำ ณ วัดใดวัดหนึ่งในช่วงระหว่างฤดูฝนตลอด 3 เดือน
 “แล้อุปั๊ดตะก่า” เป็นประเพณีแห่รับข้าวพระพุทธของคนเชื้อสายไทยใหญ่ในแม่สอด คำว่า “แล้อุปั๊ดตะก่า” เป็นภาษาไทยใหญ่ หมายถึง คณะอุบาสกแห่รับข้าวพระพุทธจากผู้มีจิตศรัทธาถวายพระพุทธเจ้า ซึ่งจะจัดขึ้นในหนึ่งวันก่อนวันเข้าพรรษาของทุกปี
 ประเพณีนี้เป็นประเพณีของคนท้องถิ่นคนไทยใหญ่ (คนไต) กล่าวคือ คนไทยใหญ่นับถือพระพุทธศาสนาอย่างเดียวและยึดเหนี่ยวจิตใจ ในทุกบ้านทุกหลังคาเรือนจะมีหิ้ง
พระพุทธรูปไว้ในบ้าน บูชาด้วยดอกไม้สด ธูป เทียน เป็นเครื่องสักการะ และในทุกๆ เช้าจะถวายข้าวพระพุทธ
ก่อนอื่นเป็นประจำ โดยถือเป็นกิจวัตรและจะสอนให้ลูกหลานได้ถือประพฤติปฏิบัติตามและสืบทอดจนมาถึงทุกวันนี้
 และในปีนี้พิธี “แล้อุปั๊ดตะก่า” จะจัดขึ้น
ณ วัดแม่ซอดน่าด่าน อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 28 กรกฎาคม 2561 เวลา 11.00 น. เป็นต้นไป และจะจัดพิธีนี้ในทุกวันโกน (วันก่อนวันพระ 1 วัน)
ตลอด 3 เดือน พิธีกรรมนี้เป็นพิธีกรรมที่สืบทอดกันมาแต่ช้านาน ถือเป็นพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ โดยผู้เข้าร่วมในขบวนจะต้องเป็นชายที่นุ่งขาวเท่านั้น ห้ามมิให้หญิงเข้าร่วมแต่ก็สามารถเดินร่วมชมตามหลังขบวนได้ การแห่จะเป็นไปอย่างเรียบง่าย มีสีสันจากขบวนตุงที่หลากหลายสี เป็นทิวแถวสวยงาม มีศิลปวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์อันเก่าแก่ของคนไทยใหญ่ คือการ “รำโต” หรือชาวบ้านเรียกว่า “รำกินกะร่า” หรือเรียกว่าการรำสิงโตนั่นเอง ลักษณะจะคล้ายกับการเชิดสิงโตของชาวจีนใช้แสดงเฉพาะในเทศกาลที่ยิ่งใหญ่เท่านั้นทั้งนี้เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชาวเมือง โดยบรรพบุรุษของชาวไทยใหญ่ถือว่า “โต” เป็นสัตว์ชนิดหนึ่งในป่าหิมพานต์ที่มีรูปร่างคล้ายกับจามรี แต่จะมีขนที่ยาวกว่าและมีเขาคล้ายกวาง ถือเป็นสัตว์นำโชคและจะนำมาซึ่งความรุ่งเรือง โดยจะรำคู่กับการรำกินรีที่จะมีให้เห็นได้เฉพาะตามถิ่นแถวนี้เท่านั้น



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

นกเค้าหู (นกเค้ากู่)

มุลาอิ ขุนเขาแห่งศรัทธา

ซาลาแมนเดอร์ หรือจิ้งจกน้ำ